การรับทำ SEO คือ การปรับแต่งเว็บไซต์ให้ติดอันดับบนเครื่องมือการค้นหา ประกอบด้วย 10 ขั้นตอนการรับทำ SEO โดยทีมนักรบ เพื่อทำให้เว็บไซต์ของลูกค้าถูกค้นพบได้มากขึ้น เพื่อเพิ่มปริมาณการเข้าชม และการขายสินค้าหรือบริการของบริษัท
โดยหลักการในการรับทำ SEO คือ เว็บไซต์ใดและหน้าเว็บที่มีเนื้อหาคุณภาพ มีลิงก์อ้างอิงภายนอก และการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ที่มากกว่า จะอยู่ในอันดับที่สูงกว่าของผลการค้นหา
10 ขั้นตอนการรับทำ SEO
ทีมนักรบได้สรุปไว้ใน 10 ขั้นตอน และมีรายละเอียดดังนี้
- Keyword Research การวิจัยคีย์เวิร์ด
- Keyword Rank Tracking การตรวจสอบและติดตามอันดับคีย์เวิร์ด
- SEO Site Audit การตรวจสอบเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการทำ SEO
- Onpage SEO Audit : การปรับหน้าเว็บไซต์และคอนเทนต์เพื่อส่งเสริมการทำ SEO
- User factor : การเพิ่มประสบการณ์ผู้ใช้และการเพิ่มผู้ใช้งานเพื่อส่งเสริมการทำ SEO
- Social Signal: การทำการตลาดผ่านโซเชียลมีเดียเพื่อส่งเสริมการทำ SEO
- Link Building: การสร้างลิงก์ภายในและนอกเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการทำ SEO
- Algorithm Update: การติดตามการเปลี่ยนแปลงของอัลกอริธึมเพื่อปรับปรุงให้สอดคล้อง
- Analysis: การวิเคราะห์ในทุกขั้นตอนการทำ SEO
- SEO Report รายงานผลการรับทำ SEO
1) Keyword Research การวิจัยคีย์เวิร์ด
การวิจัยคีย์เวิร์ดเป็นการค้นหาคำที่คุณต้องการให้เว็บไซต์ติดอันดับ โดยการวิจัยคีย์เวิร์ดเป็นสิ่งที่ต้องทำใหม่และทำซ้ำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้รับข้อมูลใหม่ ๆ และข้อมูลที่เป็นล่าสุดเพื่อนำมาปรับปรุงหรือสร้างเนื้อหาให้กับเว็บไซต์ต่อไป
วิธีการวิจัยคีย์เวิร์ดให้มีประสิทธิภาพสามารถทำได้ด้วย 10 ขั้นตอน ได้แก่
- กำหนดเป้าหมายในการทำ SEO ของคุณ
- ค้นคว้าคีย์เวิร์ดที่ลูกค้าจะค้นหา
- ค้นคว้าคีย์เวิร์ดที่คุณคิดขึ้นมา และจากลูกค้าที่จ้างคุณ
- ค้นหาชุดคีย์เวิร์ด หรือคำที่เกี่ยวข้อง (Related Keyword)
- วิเคราะห์การแข่งขันของคุณสำหรับคีย์เวิร์ดนั้นๆจากค่า Keyword difficulty
- พิจารณา User intent จาก Query ของกลุ่มเป้าหมาย
- กำหนดกลยุทธ์การนำเสนอคอนเทนต์ที่สอดคล้องกับเป้าหมาย เช่น การสร้าง Content hub
- สร้างหน้า Landing Page ที่ปรับให้เหมาะสมสำหรับคีย์เวิร์ดของคุณ
- ประเมินว่ากลยุทธ์ของคุณใช้ได้ผลหรือไม่ และปรับปรุงต่อไป
- ค้นคว้าคีย์เวิร์ดใหม่ๆ และปรับปรุงเนื้อหาเก่าสม่ำเสมอๆ เช่น 6 เดือนครั้ง หรือปีละครั้ง
2) Keyword Rank Tracking : ตรวจสอบและติดตามอันดับคีย์เวิร์ด
การตรวจสอบและติดตามอันดับคีย์เวิร์ด คือ การตรวจสอบและติดตามว่าหน้าเว็บไซต์ของคุณมีอันดับอย่างไรในหน้าผลลัพธ์ของเครื่องมือการค้นหา ซึ่งคุณจะต้องมีรายการคีย์เวิร์ดที่คุณต้องการตรวจสอบและติดตาม แล้วติดตามคีย์เวิร์ดเหล่านั้นในเครื่องมือค้นหาต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอเป็นรายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือน เพื่อให้สามารถเข้าใจถึงสถานการณ์และนำมาปรับปรุงเว็บไซต์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพต่อไป
ไม่เพียงแค่นั้น การติดตามอันดับของคู่แข่งของคุณก็มีความสำคัญเช่นกัน เพื่อเป็นเป้าหมายและแนวทางการปรับกลยุทธ์ของเว็บไซต์ต่อไป
3) SEO Site Audit ตรวจสอบเว็บไซต์รองรับ SEO
การตรวจสอบเว็บไซต์เป็นกระบวนการประเมินความเป็นมิตรต่อเครื่องมือค้นหาของเว็บไซต์ในหลากหลายด้าน กล่าวคือ เป็นการประเมินประสิทธิภาพโดยรวมของเว็บไซต์ที่ส่งผลต่อ SEO อย่างครอบคลุม โดยจะระบุข้อผิดพลาดที่ทำให้เว็บไซต์ของคุณไม่สามารถจัดอันดับได้ดี และโอกาสที่จะช่วยให้คุณมีผู้พบเห็นมากขึ้น การตรวจสอบ SEO มักจะครอบคลุมถึงด้านต่าง ๆ เช่น:
- คุณภาพและความเกี่ยวข้องของเนื้อหา Quality content and relevance
- ประสบการณ์ผู้ใช้งาน user experience
- แผนผังเว็บไซต์ sitemap
- การเปรียบเทียบกับคู่แข่ง competitor comparative
- การวิจัยคีย์เวิร์ด keyword research
- โปรไฟล์ของลิงก์ย้อนกลับ backlink profile เป็นต้น
4) Onpage SEO Audit : ปรับหน้าเว็บไซต์และคอนเทนต์
การตรวจสอบ SEO บนหน้าเว็บไซต์ คือ การตรวจสอบประสิทธิภาพองค์ประกอบภายในเว็บไซต์ของคุณที่ส่งผลต่อการจัดอันดับการค้นหา เพื่อที่จะได้ทราบว่าควรต้องปรับปรุงอย่างไรให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้ ซึ่งการตรวจสอบ SEO บนหน้าเว็บไซต์มีองค์ประกอบดังนี้
- การใช้คีย์เวิร์ด ทั้งในส่วนหัวข้อ เนื้อหา แท็กชื่อ และ Meta Description มีประสิทธิภาพ ความเหมาะสมและความสอดคล้องกันหรือไม่
- การเชื่อมโยงภายในระหว่างเนื้อหาแต่ละหน้า ว่ามีหน้าไหนสามารถเชื่อมโยงกันได้บ้าง เช่น หากมีการลงเนื้อหาใหม่ที่มีความเชื่อมโยงกับเนื้อหาเดิมที่มีอยู่ในหน้าอื่น ก็ควรโยงไปยังหน้านั้นเพื่อเพิ่มปริมาณการเข้าชมหน้าอื่นบนเว็บไซต์ของคุณ
- แผนผังเว็บไซต์ การมีแผนผังเว็บไซต์ที่ช่วยให้โปรแกรมรวบรวมข้อมูลของเครื่องมือค้นหาสามารถค้นหาหน้าเว็บในเว็บไซต์ของคุณได้
5) User factor : เพิ่มประสบการณ์ผู้ใช้และการเพิ่มผู้ใช้งาน
ความสัมพันธ์ระหว่าง UX และ SEO เพื่อให้เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง UX และ SEO อย่างถ่องแท้ สิ่งสำคัญคือเราต้องจำคำจำกัดความโดยละเอียดของ “ประสบการณ์ผู้ใช้” ประสบการณ์ผู้ใช้ (UX) หมายถึงประสบการณ์โดยรวมที่ผู้เยี่ยมชมมีขณะโต้ตอบกับเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน ประกอบด้วยปัจจัยหลายประการ ได้แก่
- การออกแบบและการจัดวางของเว็บไซต์
- ความสะดวกในการนำทาง
- คุณภาพของเนื้อหา
- การตอบสนองของเว็บไซต์
- ความประทับใจโดยรวมที่เว็บไซต์สร้างขึ้น
แม้ว่าการออกแบบ UX ที่ดีจะมุ่งเน้นไปที่การมอบประสบการณ์ที่ราบรื่นและน่าพึงพอใจแก่ผู้ใช้ แต่ UX ที่ไม่ดีอาจนำไปสู่ความหงุดหงิดและการละทิ้ง ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อ SEO ได้ แท้จริงแล้ว UX และ SEO นั้นมีความผูกพันกันอย่างเคร่งครัด เนื่องจากมีการแบ่งปันตัวชี้วัดร่วมกันระหว่างกัน ซึ่งมีส่วนช่วยในกันและกัน
ตัวอย่างเช่น UX เชิงบวกสามารถนำไปสู่การมีส่วนร่วมที่สูงขึ้น อัตราตีกลับที่ลดลง และอัตราการคลิกผ่านที่ดีขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบเชิงบวกต่อ SEO ในทางกลับกัน
ในทางตรงกันข้าม UX ที่ไม่ดีอาจส่งผลเสียต่อพฤติกรรมของผู้ใช้และส่งผลให้อันดับการค้นหาต่ำลงแต่เรามาดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีที่ UX และ SEO โต้ตอบกันที่เกี่ยวข้องมากที่สุดกันดีกว่า:
UX เชิงบวกสามารถเพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ได้ เนื่องจากผู้ใช้มีแนวโน้มที่จะใช้เวลามากขึ้นบนเว็บไซต์ที่ใช้งานง่าย ดึงดูดสายตา และให้ข้อมูลที่พวกเขาต้องการ เมื่อผู้ใช้มีส่วนร่วมกับเว็บไซต์มากขึ้น พวกเขาก็เต็มใจที่จะแบ่งปันเว็บไซต์กับผู้อื่นมากขึ้น ส่งผลให้มีการเข้าชมมากขึ้นและอันดับการค้นหาดีขึ้น
อัตราการคลิกผ่าน
UX เชิงบวกยังสามารถปรับปรุงอัตราการคลิกผ่าน (CTR) ซึ่งเป็นอัตราส่วนของผู้ใช้ที่คลิกลิงก์ต่อจำนวนผู้ใช้ทั้งหมดที่ดูเพจ CTR ที่สูงเป็นสัญญาณเชิงบวกต่อเครื่องมือค้นหา เนื่องจากเป็นการบ่งชี้ว่าเว็บไซต์มีความเกี่ยวข้องและมีคุณค่าต่อสาธารณะ
6) Social Signal: โซเชียลมีเดียส่งเสริม SEO
ปัจจัยด้านโซเชียลมีเดียแม้ไม่ส่งผลโดยตรงต่อการจัดอันดับของเครื่องมือการค้นหา แต่สามารถเพิ่มการมองเห็นแบรนด์ของคุณในผลการค้นหา สร้างการเข้าชมเว็บไซต์ของคุณ และสร้างการรับรู้ถึงแบรนด์ เพื่อนำไปสู่ผลการจัดอันดับที่ดีขึ้นได้ในระยะยาว โดยสามารถสรุปประโยชน์ของโซเชียลมีเดียต่อ SEO ได้ 2 ประการ ได้แก่
- โซเชียลมีเดียมักเป็นสัญญาณของเนื้อหาคุณภาพสูง เมื่อเนื้อหาได้รับการแชร์ ถูกใจ และแสดงความคิดเห็นบนโซเชียลมีเดีย เนื้อหาดังกล่าวสามารถส่งสัญญาณไปยังผู้อ่านว่าเนื้อหานั้นได้รับความนิยมและน่าเชื่อถือ
- เพิ่มการมองเห็นและการเข้าชมออนไลน์ การเผยแพร่เนื้อหาคือการแบ่งปันและโปรโมตเนื้อหาของคุณผ่านแพลตฟอร์มและช่องทางต่างๆ กลยุทธ์การตลาดดิจิทัลมักอาศัยช่องทางโซเชียลมีเดียเช่น X, LinkedIn และ Facebook เพื่อกระตุ้นการเข้าชมเว็บไซต์ผ่านการกระจายเนื้อหาได้
7) Link Building: ลิงก์ภายในและลิงก์ภายนอกเว็บไซต์
การสร้างลิงค์เป็นกระบวนการในการให้เว็บไซต์อื่นที่มีคุณภาพสูงหรือมีความน่าเชื่อถือเชื่อมโยงมายังเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเพิ่มอันดับการค้นหาของเว็บไซต์ โดยเหตุผลที่ควรสร้างลิงค์มาจากอัลกอลิทึมของเครื่องมือการค้นหาที่ลิงก์ย้อนกลับเป็นหนึ่งในปัจจัยการจัดอันดับที่สำคัญอย่างยิ่ง ยิ่งหน้าเว็บไซต์มีลิงก์ย้อนกลับคุณภาพสูงมากเท่าใด เพจก็ยิ่งมีอันดับสูงขึ้นเท่านั้น ลิงก์ย้อนกลับจึงถือเป็น “คะแนนแห่งความมั่นใจ” สำหรับเว็บไซต์ที่ได้รับลิงก์ การโหวตแต่ละครั้งแสดงให้เห็นว่าเนื้อหาของคุณมีคุณค่า น่าเชื่อถือ และมีประโยชน์นั่นเองซึ่งวิธีสร้างลิงค์กลยุทธ์และกลยุทธ์การสร้างลิงก์ส่วนใหญ่แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้
- ขอลิงค์ การขอลิงก์คือเมื่อคุณติดต่อกับเว็บไซต์และขอให้พวกเขาเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถขอให้พวกเขาเชื่อมโยงไปยังโพสต์ในบล็อก คำแนะนำเชิงลึก อีบุ๊ค อินโฟกราฟิก กรณีศึกษา การวิจัยและข้อมูลต้นฉบับ เป็นต้น
- เพิ่มลิงค์ การเพิ่มลิงก์ หมายถึง การไปที่เว็บไซต์อื่นและเพิ่มลิงก์ของคุณที่นั่นด้วยตนเอง คุณสามารถเพิ่มลิงก์ไปยังสิ่งต่าง ๆ ได้ เช่น โปรไฟล์โซเชียลมีเดีย ไดเรกทอรีธุรกิจ ฟอรัม ชุมชน และเว็บไซต์ถามตอบ ความคิดเห็นของบล็อก หรือหน้าโปรไฟล์ผู้ใช้งาน เป็นต้น
- รับลิงค์ เมื่อคุณได้รับลิงก์ เว็บไซต์อื่น ๆ จะลิงก์ไปยังเว็บไซต์ของคุณโดยที่คุณไม่ต้องร้องขอและวิธีที่ดีที่สุดในการรับลิงก์คือการสร้างเนื้อหาคุณภาพสูงที่ผู้คนต้องการลิงก์ไป ลิงก์เกิดขึ้นตามธรรมชาติเมื่อมีคนต้องการลิงก์ไปยังบางสิ่งเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลหรืออ่านเพิ่มเติม
8) Algorithm Update: ติดตามอัลกอริธึมเพื่อปรับปรุง
อัลกอริธึมของเครื่องมือการค้นหาเป็นระบบที่ใช้ในการดึงข้อมูลจากดัชนีการค้นหาและให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดสำหรับการค้นหาทันที เครื่องมือค้นหาใช้การผสมผสานระหว่างอัลกอริธึมและปัจจัยการจัดอันดับจำนวนมากเพื่อนำเสนอหน้าเว็บที่ได้รับการจัดอันดับตามความเกี่ยวข้องในหน้าผลลัพธ์ของเครื่องมือค้นหา (SERP)
ดังนั้นเมื่อมีการอัปเดตอัลกอริธึม จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบต่าง ๆ ของเว็บไซต์ที่ส่งผลต่อ SEO ให้สอดคล้องกับอัลกอริธึมที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้เว็บไซต์มีอันดับที่ดีขึ้นหรือคงเดิมเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ซึ่งสำหรับ Google ในช่วงปีแรก ๆ ได้ทำการอัปเดตอัลกอริทึมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ปัจจุบัน Google ทำการเปลี่ยนแปลงหลายพันรายการทุกปี การอัปเดตเหล่านี้ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กมากจนไม่มีใครสังเกตเห็นเลย อย่างไรก็ตาม ในบางครั้ง เสิร์ชเอ็นจิ้นได้เปิดตัวการอัปเดตอัลกอริธึมที่สำคัญซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อผลการค้นหาของเว็บไซต์เช่นกัน
9) Analysis: การวิเคราะห์ในทุกขั้นตอนการทำ SEO
เมื่อผ่านทั้ง 8 กระบวนการที่กล่าวมาข้างต้น สิ่งที่ต้องทำเพื่อให้สามารถเห็นภาพรวมของการทำ SEO ว่ามีประสิทธิภาพเพียงใด ต้องแก้ไขหรือปรับปรุงอะไรบ้าง คือ การนำข้อมูลดังกล่าวทั้งหมดมาวิเคราะห์และเชื่อมโยงกัน เพื่อหาวิธีการเพิ่มอันดับของเว็บไซต์ให้สูงขึ้นในการจัดอันดับการค้นหา ซึ่งบางครั้งอาจต้องมีการจัดทำรายงานเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบเพื่อรับการสนับสนุนหรือดำเนินการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำ SEO ต่อไป
10) SEO Report รายงานผลการรับทำ SEO
ขั้นตอนสุดท้ายในการรับทำ SEO คือการออกรายงานผลการทำงาน SEO ของเดือนหรือไตรมาสที่ผ่านมา เช่น
- อันดับของคีย์เวิร์ด มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เพิ่มขึ้นหรือลดลง
- Website มีการปรับปรุงให้รองรับการทำ SEO มากขึ้นไหม
- Content มีการเพิ่มเนื้อหาใหม่ๆเข้าในเว็บไซต์ ที่ช่วยเพิ่มอันดับและทราฟฟิคเยอะเพียงใด
- User มีเพิ่มมากขึ้นและมีปฏิสัมพันธ์กับเว็บไซต์ไหม เช่น engagement, conversion
- Social media มีการเข้าถึงแบรนด์และบริการของธุรกิจบ้างไหม
- Link มีการเพิ่มจำนวน backlink และ internal link ที่ดีและเหมาะสมมากขึ้นไหม
- แผนการในเดือนถัดไป ว่าจะทำเนื้องานส่วนใหนต่อ เช่น update content , แก้ไขอันดับตก หรือปรับปรุงเว็บไซต์ให้ใช้งานง่ายมากขึ้น
นี้คือ 10 ขั้นตอนการรับทำ SEO ที่ใช้งานจริงกับทีมนักรบ โดยพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า สามารถปรับใช้กับ SEO Agency บริษัทรับทำเอสอีโอขนาดเล็ก เจ้าคนเดียว ไม่ต้องมีพนักงานประจำ ก็สามารถทำได้ครับ
หากสนใจที่ปรึกษาการทำ SEO , บริษัทรับทำ SEO หรือ คอร์สอบรมการทำ SEO สามารถติดต่อทีมนักรบได้ครับ
แหล่งข้อมูลศึกษาการทำ SEO จากกูเกิล : SEO Starter guide
แชร์ประสบการณ์ สร้างอาชีพและธุรกิจด้าน SEO & Digital Marketing
แชร์วิธีสร้างอาชีพเกี่ยวกับ SEO & Digital Marketing แบบนักรบ เพื่อพิสูจน์ให้เห็นจริง ว่าความรู้ที่สอนนี้ ใช้ได้ผลจริงกับนักรบ แต่ผู้เรียนควรนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับธุรกิจตัวเองครับ เช่น รับทำเว็บไซต์ WordPress, วิทยากรสร้างคอร์สออนไลน์, ขายของออนไลน์ด้วยเว็บไซต์, รับทำ SEO แบบฟรีแลนซ์ และ SEO Agency
WarriorSEO Agency มือโปร สร้างยอดขายลูกค้าโตหลัก 10 ล้าน
ขายของออนไลน์ ด้วยเว็บไซต์ WordPress + SEO ยอดขายเกิน 15 ล้าน/ปี
Freelance WordPress & SEO Specialist อาชีพรับทำ SEO รายได้ 1.2 ล้าน/ปี ใน 3 ปีและวิธีเริ่มต้น
สร้างคอร์สออนไลน์ รายได้ Passive Income 30,000 ต่อเดือน
ฟรีแลนซ์ รับทําเว็บไซต์ WordPress สร้างรายได้เก็บเงินแสนใน 1 ปี