- HTML พื้นฐาน เรื่อง The Basics of HTML
- HTML พื้นฐาน เรื่อง DOCTYPES and markup styles
- HTML พื้นฐาน เรื่องการเช็ค validation
- HTML พื้นฐาน เรื่อง tag head
- HTML พื้นฐาน เรื่อง HTML text
- HTML พื้นฐาน เรื่อง lists
- HTML พื้นฐาน เรื่อง การใส่ภาพและการใช้ Webflow สร้างเว็บ
คอร์สเรียนออนไลน์ แนะนำ :วิธีสร้างเว็บ ด้วย WordPress โดยนักรบ
HTML พื้นฐาน เรื่อง The Basic Of HTML
สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพูดเกี่ยวกับเรื่อง HTML Tutorial นะครับ ซึ่งมันเป็นเบสิกเลย เนื่องจากผมเจอเว็บนี้ได้สักพักแล้ว คือ www.webplatform.org ซึ่งผมเคยแนะนำไปในคลิปก่อนๆนะครับ ว่าเป็น reference เกี่ยวกับเรื่อง HTML CSS อะไรต่างๆได้นะครับ แล้วก็มีการอัพเดทอยู่ค่อนข้างใหม่เลยทีเดียว วันนี้ผมจะมาพูดเกี่ยวกับเรื่องสิ่งทีเป็นเบสิคในสไตล์ที่ผมเข้าใจนะครับ แล้วผมอยากจะถ่ายทอดเพื่อเป็นพื้นฐานในการสอนในคลิปอื่นๆด้วย เราจะได้คุยเรื่องเดียวกันนะครับ โอเค เรามาเริ่มกันที่ The basics of HTML นะครับ ก็คือพื้นฐานเลยแหละ HTML คืออะไรยังไง ถ้าเราคลิกเข้าไปเนี่ยมันก็จะมาลิงค์นี้ มันก็จะพูดว่า เรื่องนี้กลายเป็นเรื่องของ basics of HTML เลยนะครับ ตามหัวข้อเลย สำหรับคนที่เก่งภาษาอังกฤษอยู่แล้วนะครับ แนะนำให้อ่านและเรียนรู้และทำความเข้าใจมัน แต่สำหรับคนที่ภาษาอังกฤษยังไม่เก่งแต่อยากรู้ก็ไปด้วยกันกับผมละกัน ส่วนเรื่องของคอร์สภาษาอังกฤษถ้ามีโอกาส ผมก็จะสอนนะครับ ในเรื่องของการจับใจความภาษาอังกฤษ เหมาะสำหรับเว็บดีเวลลอปเปอร์ (web developer) หรือคนที่สนใจที่จะใช้ในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตัวเองนะครับ อันนี้มาเริ่มกันที่เรื่องของ Summary นะครับ summary ในส่วนของ basics of HTML เนี่ย เค้าจะพูดถึงเรื่องโครงสร้างของ HTML มีอะไรบ้าง นี่คือเรื่องของ Introduction นะครับ ว่ามันจะมีโครงสร้างของHTML เป็นยังไง รายละเอียดต่างๆตรงนี้น่าสนใจครับ What is HTML HTML คืออะไร ในบทความนี้เขียนไว้ได้ดีนะครับ เค้าอธิบายว่า HTML ก็เหมือนกับนามสกุลภาษา เราคุ้นชิ้นกับ .doc ไหมครับ ดอทดีโอซี ที่ microsoft word ใช้เปิดไงครับ .xls ที่ microsoft excel ใช้เปิดไงครับ คือโปรแกรม (programe) หรือพวกแอปพลิเคชัน (application) ที่อยู่บน PC ส่วนใหญ่มันจะเปิดไฟล์นามสกุลต่างๆของมัน คือ word ก็เปิด .doc Excel ก็เปิด .xls นามสกุลพวกนี้เป็นตัวบอกว่าเราควรใช้อะไรเปิดมันดู เพราะโปรแกรมที่ใช้เปิดมันจะมีตัวอ่านเพื่อออกมาเป็นรูปร่างหน้าตาที่มันต้องการ ที่เอาไว้ใช้สื่อสาร ไว้ทำงานต่างๆน่ะครับ HTML ก็เหมือนกัน เป็นนามสกุลที่เวลาใส่ไปในไฟล์แล้วเอาเบราว์เซอร์ (Browser) เปิดขึ้นมาดูจะมีรูปร่างหน้าตาโผล่ขึ้นมา เป็นเว็บไซต์ต่างๆ แบบนี้ก็เป็นเว็บไซต์ตัวนึงนะครับ HTML ย่อมาจาก Hyper Text Markup Language จะรู้หรือไม่รู้ก็ได้ โดยลักษณะโครางสร้าง HTML นี้ เอาง่ายๆ ยกตัวอย่างเช่น <p id=“example”>This is a paragraph.</p> P ย่อง่ายๆว่าเป็นพารากราฟ (paragraph) ก็ได้ครับ เวลาที่เราพิมพ์ใน word เราก็จะมีตัวใหญ่ทีเป็นหัวข้อ ถ้าใน HTML เราก็จะใช้คำว่าเฮดดิ้ง (heading) ตัว h1-h6 ไล่ไป h1 ก็ใหญ่สุด h2 h3 h4 h5 h6 ใหญ่ลดหลั่นลงมา เราลองดู microsoft word ก็มี heading นะครับ heading ใหญ่ headingรอง ใน HTML ก็เหมือนกันส่วนนี้ก็เป็น text นะครับ ส่วนที่เรียกว่า paragraph นะครับ นี่มองว่าเป็น paragraph ได้ เป็น paragraph นึงอะไรแบบนี้ ก็คือ tag p นั่นเองเวลาเค้าใช้ คุณมาดูโครงสร้าง HTML เวลาคนเขียน HTML เนี่ย ที่มีรูปดินสอไม่ต้องแปลกใจ เพราะว่ามันให้เราแก้ไขได้นะครับ มันเป็นวิกิพีเดียแบบนึง ในโครงสร้าง HTML เนี่ยมันก็จะมีแค่นี้ เขียนไว้ใน text file, notepad เลยก็ได้ครับ แล้วเซฟเป็นชื่ออะไรสักอย่าง .HTML ดับเบิ้ลคลิกเปิดมาด้วยเบราว์เซอร์ IE Firefox Safari มันก็จะขึ้นมา จะขึ้นมาตามด้านล่างนี่แหละ อย่างนี้ Hello world มันก็มีโครงสร้างแค่นี้ บรรทัดแรกก็คือ <!DOCTYPE html> เป็น HTML5 แล้วอันที่สองก็คือ HTML language เป็นภาษาที่มีเฮด <head> เข้ามา มีเมต้า <meta> มีไตเติ้ล <title> มีบอดี้ <body> แล้วก็ </HTML> โครงสร้างมีอยู่เท่านี้ครับ พื้นฐานคือเท่านี้ อธิบายโครงสร้างแบบง่ายๆเลยครับ เราลองนึกถึงโครงสร้างของมันนะครับ โครงสร้างของมันจะมีแท็กเปิดแล้วก็แท็กปิดเสมอ ที่เขาเรียกว่ามาร์คอัพ (markup) มาร์คอัพก็คือการมาร์คเอาไว้ครับ มาร์คไฮไลท์ไว้หุ้มกับข้อมูลที่เราต้องการแสดงผล ถ้าสังเกตว่ามีแท็กเปิดแท็กปิด เราจะคุ้นกับพวกบีบีโค้ด (bb code) แต่แค่มันไม่ได้ใช้เครื่องหมายน้อยกว่า(<) มากกว่า (>) มันใช้เป็นเครื่องหมายปีกกาแข็ง เห็นไหมครับใช้เทคนิกเดียวกันเลย เปิดปิดเป็น bb code ถ้าเราเล่นเว็บบอร์ดบ่อยๆเราก็จะรู้ว่า bb code มันใช้ยังไง url อะไร แต่นี่ก็เป็นแค่ HTML มันก็ใช้มากกว่า น้อยกว่า เรามองโครงสร้างมันนะครับ นี่ก็อธิบายโครงสร้างของมัน syntax outline ต่างๆคอร์สเรียนแนะนำ
- เรียน SEO
- เรียน WordPress
HTML เบื้องต้น เรื่อง DOCTYPES and markup styles
ครับ สวัสดีครับ อันนี้จะเป็นภาคต่อนะครับในเรื่องของ HTML Tutorials นะครับที่ผมเคยพูดไว้ในคลิปแรก ผมพูดคลิปแรกไปแล้วนะคลิปคือ basics of HTML ไปแล้วนะครับ คลิปนี้ผมจะพูดเกี่ยงกับเรื่อง DOCTYPES and markup styles นะครับ ถ้าเรามาเปิดเว็บไซต์นะครับ คลิ๊กตัวนี้ครับ DOCTYPES and markup styles มันก็จะเปิดมาเว็บไซต์นี้ ก็จะพูดเกี่ยวกับเรื่องไฟล์นะครับ DOCTYPES เป็นหลัก สมมุติเราประกาศ HTML ขึ้นมาแล้ว มันจะเขียนโค้ดประมาณนี้ ขอให้ดูคลิปก่อนหน้านี้ก่อนนะครับ เดี๋ยวจะงงนะครับ พอเราเขียนHTML เราประกาศ Doctype ประกาศแค่นี้นี่คือHTML ล่าสุด HTML 5 ใช่ไหมครับ เราจะมีโครงสร้างเท่านี้แล้วก็จะอธิบายคร่าวๆ นะครับ แค่นี้ประกาศแค่นี้ HTML5 แล้ว ใช้ได้แล้ว คือพอเราประกาศ HTML5 หมายความว่าเราใช้ Tax ของ HTML5 ได้แล้วครับ ผมเกริ่นให้คร่าวๆ นะครับ HTML5 แท็กที่มีมาใหม่ก็หลายตัวเลย เช่น header, footer, article, main, section มีอะไรอีกละ Asize แล้วก็อาจจะมีอีก 2-3 ตัวประมาณนี้ จุดประสงค์ที่เขาประกาศเริ่มใช้ HTML5 เข้ามาก็เพราะว่าเขาต้องการเพิ่มแท็ก ที่ช่วยในการจัดโครงสร้างของเว็บใหม่ เพราะเราลองสังเกตเราทำเว็บกันตอนนี้หลังๆ ก่อนที่จะมีHTML5 คนจะใช้ DIV เยอะมากจะไม่ใช้ Table เพราะช่วยในการsearchได้ดีกว่า แล้วการเป็นว่ามันใช้ DIV ไปหมดเต็มไปทั้งหน้า เวลาคนไปคลิ๊กขวาดู Source นี่ DIV เต็มไปหมด D. I .V เต็มไปหมด เขาก็เกิดมีการพัฒนาให้โครงสร้างมันเอื้อต่อการsearch หรือการจัดลำดับข้อมูลได้ดีขึ้นนะครับว่า DIV ที่มันอยู่ด้วยบนสุดมันคุม menu มันคุม header คุมอยู่นะมันก็น่าจะตั้งชื่อว่า Header DIV ที่คุมอยู่ข้างล่างสุดที่เป็น Second menu เป็นCopy write เป็น Link site match มันก็ควรจะอยู่ footer ข้างล่างมันก็น่าจะตั้งว่า Footer อย่างนี้มีการตั้ง แท็กขึ้นมาใหม่ ข้อมูลที่มันเป็นส่วนตรงกลาง ที่มันเป็นใจความสำคัญเหมาะแก่การsearch มันก็ควรมีชื่อที่ไม่ใช่แค่ DIV เหมือนกันเขาก็เลยตั้งว่า Article อะไรอย่างนี้ครับ จุดประสงค์ก็เพื่อการsearch ข้อมูล การจัดข้อมูลที่มีมากมายมหาศาลในเว็บนี่ให้ง่ายขึ้นนะครับ ผ่านแท็กพวกนี้เป็นตัวช่วย ถ้าเราเล่น Dreamweaver นะครับ หรือโปรแกรมอื่นที่สร้างไฟล์ HTML ได้นะครับ เวอร์ชั่นเก่าๆ ก่อนที่จะเป็น HTML5 มันก็จะเป็นแบบนี้ HTML.4 .01 พอเปิดไฟล์ขึ้นมาก็จะสร้างนี่ให้อัตโนมัติเลยนะครับDreamweaver ไม่ใช่รุ่นใหม่นะครับอาจจะเป็น cs4, cs5-6 หรืออะไรประมาณนี้ครับ จะมีใช้ HTML 4 อยู่เปิดมาก็จะเป็นไฟล์แบบนี้เลย ประกาศ Doctype แบบนี้นะครับ ถ้าHTML5 ก็จะประกาศ Doctype แบบนี้ ถ้าเป็น HTML4ก็จะประกาศ Doctypeแบบนี้ นี่ก็เป็น HTML4.01 transitional อันนี้แบบ strict นะครับ ผมก็ไม่ได้ดูนะครับว่ามันแตกต่างกันเท่าไรเพราะว่าไม่สนใจครับ ข้ามได้ อันไหนข้ามได้ผมก็ข้ามครับ อันนี้ XHTML ทำไมมันเยอะแบบนี้มันทั้ง HTML5, HTML4, XHTML เยอะไปหมดเลย คือผมอธิบายคอนเซ็ปต์ง่ายๆก็ได้ครับ XHTML พัฒนามาเพื่อให้เหมาะกับการทำงานไฟล์ที่เป็น XML ดีขึ้น เริ่มงงหรือเปล่าว่า XML คืออะไร เยอะไปหมด เดี๋ยวค่อยๆอธิบายไป แล้วกันนะครับ นี่ก็เป็นการประกาศ Doctype อะไรต่างๆ นะครับอย่างพวกนี้เราอาจจะไม่ต้องจำก็ได้ครับใช้โปรแกรมสร้างขึ้นมามันก็จะสร้างให้นะครับ ตรงนี้มันมีการเปรียบเทียบระหว่าง HTML กับ versus XML syntax นะครับ อันนี้ HTML อันนี้ XHTML มันแตกต่างกันอย่างไง เดี๋ยวผมยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายๆละกันนะครับ XML ถูกสร้างมาเพื่อที่เอาไว้สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลนะครับ การแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือ การbackup ข้อมูลหรือการโอนถ่ายข้อมูลอะไรอย่างนี้นะครับ ถ้าเราเคยเล่น wordpress นี่เวลาเราexport จากwordpress ตัวหนึ่งมันจะ export ออกมาเป็น XML ได้นะครับ แล้วพอเราไป Import ในdatabase อีกตัวหนึ่ง เราก็ Import ผ่าน interfaceของwordpress เข้าไปจากไฟล์ XML นี่ล่ะ เราก็ Import เข้าไปนะครับ มันก็จะเอาเข้าไปในฐานข้อมูลของ database ตัวใหม่แบบนี้ครับ เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูล เป็นการbackupข้อมูล เป็นการโอนถ่ายข้อมูล โดยผ่านไฟล์นามสกุล XML ซึ่ง XML ก็จะพัฒนามาโดยทาง W3C เป็นผู้ควบคุมดูแลอย่างนี้นะครับ ถ้าเมื่อก่อนเราไม่มี XML แบบนี้เราก็ต้องใช้วิธี Dump Database อย่างนั้นละครับ แบบก่อนๆ ก็คือexport database มา import database เข้าไปใน database ตัวใหม่ แล้วบางทีเวลาจะเลือกฟิวส์(Field) เลือกข้อมูล เรื่องอะไรเราก็ต้องใช้ Select Query อะไรก็ว่าไป มันก็ยุ่งยากหน่อย XML มันก็มีส่วนช่วยให้ง่ายขึ้นนะครับ หรือถ้าเมื่อก่อนเราก็จะฮิตกันช่วงหนึ่งคือพวกอ่านfeed เคยเห็นไหมครับ read feed, google reader พวก feed พวกอะไรพวกนี้ก็อยู่ในรูปของการใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลแบบXML ได้ มีฮิตอยู่ช่วงหนึ่ง XML ก็จะเป็นเรื่องของการแลกเปลี่ยนข้อมูล, การ backup ข้อมูล, การโอนถ่ายข้อมูลครับ แล้วโครงสร้างของ XML กับ HTML ต่างกันอย่างไง ผมมาที่HTML ปกติเลยนะครับ HTML ก็จะเป็นmarkup ในการนำเสนอข้อมูลนะครับ นี่ก็เป็น แท็ก h1 เวลาเราใช้ H1 ใหญ่, h1 เล็กมีค่าเท่ากันมันไม่ซีเรียสครับแต่เวลามันเป็นXHTML มันต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันมันต้องมีการ strict แล้ว บางอย่างที่มันได้ก็ไม่ได้แล้วเพื่อที่จะกำหนดมาตรฐานให้เหมือนกัน แท็กจะต้องตัวเล็กหมด การbackslash () ของแท็กพวกนี้ก็ต้องเป็นมาตรฐานเดียวกันหมดจะใช้พร่ำเพรื่อไม่ได้คือพอมีการแลกเปลี่ยนกันระหว่างกันต้อง fixed ครับไม่งั้นมันจะเกิดความสับสนวุ่นวายมันจะไม่มีระบบไม่มีมาตรฐานและจะเกิดปัญหาอีก ปัญหาเยอะ error ยิ่งเยอะ ยิ่งผิดพลาดเยอะ มันก็เลยมี เหตุผลว่า XHTML จะมีรูปแบบการเขียนแท็กที่ fixed, ซีเรียส มากกว่าHTML นะครับ จุดประสงค์เพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ใช้XML ได้ดีขึ้นแต่ถ้าเว็บของเราไม่ได้ออกแบบมาเพื่อทำงานแบบ XML มากมายนักก็ไม่ต้องซีเรียสมากครับ ก็HTML ธรรมดาได้นะครับ นี่ก็ข้ามมา อันนี้ก็เป็นไฟล์ XML นะครับ ข้อจำกัดไว้ชัดแบบนี้นะครับ โอเค คร่าวๆนะครับ นี่ก็พูดถึง Doctype เสียส่วนใหญ่ สรุปนะครับ Doctype HTML5 ประกาศ แค่นี้ ใช้ได้แล้วไม่ว่าจะเป็น tax main ,article, Asize, header, footerใช้ได้หมด navigator ก็ใช้ได้ เท่านี้เอง ถ้าเป็น HTML รุ่นเก่าๆ ก็เป็นแบบนี้ เป็นการDoctype นะครับ สำหรับเรื่องของ Doctype ก็จบเพียงเท่านี้ครับ พบกันคลิปต่อไปครับ สวัสดีครับHTML เบื้องต้น เรื่องการเช็ค validation
สวัสดีครับผมจะพูดถึงหัวข้อถัดไปนะครับ คือ HTML Validation นะครับ ก็เป็นไล่เรียงหัวข้อกันมาตั้งแต่ basics, DOCTYPE และ HTML Validation นะครับ เป็นเรื่องของการ Validate Validate คือเช็คให้มันถูกต้องนะครับ เท่านั้นเอง เราเข้ามาเช็คให้มันถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องของ HTML , Syntax, ไวยากรณ์ อะไรต่างๆนะครับ พอคลิ๊กเข้ามาหน้านี้ก็จะเป็น หัวข้อนี้ไม่มีอะไรมากครับ เป็นเรื่องของการValidate อย่างเดียวเลย ก็คือมันจะมีTool online ที่ช่วยในการ Validate เวลาเราเขียนเว็บไซต์มาแล้ว ไม่ว่าจะเป็น HTML เราเขียนแล้วบางทีเขียนมาแล้ว บางคนมันเขียนถูกเขียนผิด เขียนคร่อมแท็ก เขียนคร่อม เขียนเหลื่อมล้ำ เขียนโค้ดผิดอะไรบ้าง เราก็ใช้พวก Validate ช่วยก็มีหลาย Tool อย่างเช่นตัวนี้ ผมคลิ๊กเข้ามาเป็น W3C Markup Validate Service นะครับ ใส่ชื่อเว็บของเราเข้าไป แล้วก็กดเช็ค ครับตัวนี้ก็เป็นตัว Validate ตัวหนึ่งของ W3C นะครับ ใส่ชื่อเว็บไซด์ไป กด Validate มันก็จะขึ้นมาว่ามี error เท่าไร มี 5 warning เท่าไร เราก็อ่าน error ของมันไปแล้วก็ปรับดูนะครับ อย่างเช่นผมก็ลองไล่อ่านมันก็จะเตือนให้เรา บางทีมันมี Duplicate ID นะ ID มันคือบางทีคุณอาจจะตั้งIDซ้ำ 2 ตัว ซึ่ง ID มันควรจะมีแค่ตัวเดียว แต่ class มีหลายตัวได้นะครับ มันก็จะเตือนเราให้เราไปปรับแก้นะครับ แต่ตรงนี้ไม่ต้องไปซีเรียสไม่ต้องไปแปลหมดไม่ต้องไปสนใจมันถึง 100% ก็ได้ครับปรับที่สำคัญก็พอแล้วก็ดูว่ามันเป็นอย่างไง เพราะว่าเว็บดังๆ มันก็มี warning มันก็มี error บ้าง แต่มันก็ยังทำงานได้ปกติ จุดประสงค์ของการ Validation นะครับที่เขาValidated กัน เพื่อเพราะว่าถ้าเกิดเราเขียน Syntax ผิด ไม่ตรงกับ W3C แล้วเว็บหลายเบราเซอร์บางทีมันอาจจะแปลไม่เหมือนกันครับ มันอาจจะแปลหน้าต่างมันผิดเพี้ยนไป หรือว่าข้อมูลผิดเพี้ยนไป จุดประสงค์ในการValidate จุดประสงค์หนึ่งคือในเรื่องของการ search engine เรื่องแรก เรื่องที่2 คือการดูผลที่ถูกต้องในหลายๆ เบราว์เซอร์ ก็เป็นผลประโยชน์หนึ่งของการValidate ของ W3C นะครับ นี่เรื่องของการValidate นี่เรื่องของTool ในเรื่องของการเช็ค error ต่างๆ นะครับ วัตถุประสงค์ของมันนะครับทำไมต้อง Validate นะครับ มันก็มีจุดประสงค์ตามที่กล่าวมานะครับ ความจริงจุดประสงค์มันมีรายละเอียดเยอะนะครับแต่ผมอธิบายรายละเอียดคร่าวๆให้นะครับ อย่างเช่น Different browsers interpret invalid HTML differently แปลตรงตัวคือ เบราเซอร์ที่ต่างกันมันจะแปลความหมายของ HTMLที่เขียนไม่เหมือนกัน แตกต่างกัน อย่างเช่น อย่างนี้ แบบนี้เขามีการเขียน แท็กaใน p คือแท็ก a แล้วปิดด้วย strong ครับคือมันมีการเหลื่อมล้ำแท็กกันมั่วแล้วล่ะ นี่ strongเปิดอยู่นี่ มาปิดอยู่นี่ p อยู่นี่ p อยู่นี่ a อยู่นี่ แล้ว a ปิดไม่รู้อยู่ไหนนะครับ อย่างนี้เขียนแล้วจะerror เวลาเราลองเข้าไปเช็คใน Validate ของ W3C แล้วมันจะเตือน เราก็ไปหาจุดที่แก้ไขแล้วก็ปรับTax ให้มันถูก เวลาเอาไปใช้เบราเซอร์มันจะได้แปลให้เหมือนกันนะครับ นะครับ นี่เป็นจุดประสงค์การValidate นะครับ ก็จะมีการ Validate ต่างๆ นะครับ หนึ่งก็คือการValidate แล้วเขียนให้มันถูกนะครับ แท็กเปิด แท็กปิด อย่าให้มันคร่อมกัน อย่าให้มันเหลื่อมล้ำกันจนผิดนะครับ แท็กLI ก็มีปิด LI แบบนี้นะครับ มันก็จะเป็นเขียน Validate ได้ถูกนะครับ นี่ก็เว็บที่ผมแนะนำไปครับอันนี้เลย markup ใส่เข้าไป มี error อะไรก็แก้ปรับไปนะครับ มีวิธีการfixed นะครับ รายละเอียดอ่านได้ เท่านี้ครับคร่าวๆนะครับ เรื่องการ Validate และเรื่องการใช้ Tool ในการValidate นะครับสำหรับเรื่อง HTML Validation ก็จบเพียงเท่านี้ สั้นๆเลยนะครับ โอเค สำหรับคลิปนี้ สวัสดีครับHTML เบื้องต้น เรื่อง tag head
สวัสดีครับ วันนี้ผมก็จะพูดถึงหัวข้อถัดไปนะครับ ของ HTML head นะครับ กว่าจะมาหัวข้อนี้ก็ไล่ตามลำดับมาเลยนะครับ The Basics of HTML, DOCTYPES and markup styles, HTML validation แล้วก็มา HTML <head> นะครับ คลิ๊กเข้าไปนะครับ ก็จะเป็นเรื่องของ HTML ที่ชื่อว่า tag head นะครับ เป็น element ตัวหนึ่ง ถ้าเรียกแบบเฉพาะเจาะจงก็เป็น Tag ถ้าแปลเป็นภาษาไทยก็คือ “ป้าย” ป้ายแปะอะไรอย่างนี้นะครับ ในภาพรวมนะครับว่า Head เนี่ยทำอะไรบ้าง Head เนี่ยก็จะเก็บรวบรวม ในส่วนหลักๆนะครับ เก็บ title เก็บ Tag title ก็คือเก็บ Tag ที่มันเป็นชื่อของหน้าเว็บเพจหน้านี้นะครับว่าเป็น title อะไร เก็บพวก meta tag นะครับ meta data เราคุ้นคำว่า meta data ไหมครับ meta data มองว่ามันเป็นข้อมูลเฉพาะนะครับเพื่ออธิบายไฟล์นั้นๆ อย่างเช่น ถ้าเรานึกถึง word ก็ได้ครับ ไฟล์เวิร์ดขึ้นมาเนี่ย คลิ๊กขวาขึ้นมา กด Properties มันจะมี created date วันที่สร้าง อะไรเงี้ย วัน modify นะครับ ถ้าเป็นพวกไฟล์เสียง ไฟล์เพลง mp3 ก็จะมีแบบใครเป็นศิลปิน ใครเป็นคนร้อง ใครเป็นคนแต่ง อัลบั้มอะไร เอ้อข้อมูลพวกเนี๊ยะเขาเก็บในรูปอะไร? เขาเรียกรวมๆว่า meta data ครับ ซึ่ง meta data เนี่ย เราต้องให้ความสนใจมันนิดหนึ่งนะครับเพราะว่า meta data เนี่ยก็ถูกใช้ใน WordPress ด้วยนะครับ meta data, meta data field ใน WordPress ก็มี database ที่เกี่ยวข้องกับ meta data เลยโดยเฉพาะเลยนะครับ ซึ่งเดี๋ยวผมขออธิบายเพิ่มเติมใน WordPress นะครับ เราก็ได้เข้าใจคร่าวๆว่า meta data เก็บอะไรนะครับ เก็บ title เก็บข้อมูลอะไรต่างๆนะครับที่ข้อมูลส่วนนี้ meta data ส่วนใหญ่ก็อาจจะไม่ได้โชว์โดยตรงในทางหน้าเว็บเพจ แต่อาจจะเป็นส่วนประกอบหลักในการที่จะทำให้เว็บเพจเนี่ยแสดงผลได้ดีขึ้นนะครับ ส่วนเราก็อาจจะเป็น CSS file ที่ link เข้ามา เก็บ javascript อะไรต่างๆนะครับ เก็บโค้ดอะไรต่างๆ เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่นนะครับ ก็จะอยู่ในส่วนของ Heading นะครับ ถ้าในส่วนที่แสดงผลออกมาทางข้อมูล ส่วนใหญ่ก็จะอยู่ในส่วนของ Body ถ้าเราไปดูโค้ดเนี่ย สมมุติ View source code หน้าเนี๊ยะปุ๊บ ก็จะอย่างเงี๊ยะ คือไล่จาก DOCTYPES ซึ่งผมอธิบายคร่าวๆไปแล้วนะครับในคลิปก่อนหน้านี้ HTML lang เป็นภาษาอังกฤษนะครับ ละก็เนี่ย head คือตัวนี้ อย่าไปจำสับสนกับ header นะครับ header มันจะเป็น HTML5 Text นะครับคนละตัว head ตัวนี้มันจะใหญ่กว่า head ตัวนี้มันจะเก็บเยอะมากลองดูครับ เก็บ meta class เนี่ย character set UTF-8 character set เป็นเรื่องของการ encoding ของภาษาที่ใช้ในเว็บอะครับ ถ้าเราใช้ภาษาไทยเนี่ย ถ้าคนทำหรือเขียนเว็บรุ่นแรกๆเนี่ยก็จะใช้ WINDOWS-874 ใช่ไหมครับ รุ่นแรกๆถ้าทันรุ่นนั้น ถัดมาก็เป็น TIS-620 อย่างเงี้ย ละมันก็โหมี encoding กันไม่รู้กี่ตัวนะครับ ภาษาหนึ่งก็ encoding ตัวนึง อีกภาษานึงก็ encoding ตัวนึงเลยนะครับ มันยุ่งยากไปหมดเลย ตอนนี้ก็เริ่มใช้เป็นสากลเป็น Universal นะครับ ทั่วไปก็คือใช้ UTF-8 ใช้ตัวนี้เลย ภาษาไทยก็ใช้ตัวนี้ ภาษาอังกฤษก็ใช้ตัวนี้ ใน heading นะครับมันคลุมอยู่ สังเกตุว่ามันคลุมอยู่ คือ มันคลุม link link favicon มันก็เป็น icon เล็กๆนะครับ ที่มันจะปรากฎตรงเนี๊ยะ เนี่ยเขาเรียก favicon ถ้าไม่มี favicon มันก็จะเป็นรูปแบบสี่เหลี่ยมกระดาษพับมุมเฉยๆนะครับ มีเก็บ search เก็บ copyright ข้อมูลเฉพาะเจาะจงของเว็บเพจตัวนี้นะครับ stylesheet เนี่ย style ต่างๆ script javascript ต่างๆน่ะครับเนี่ยก็เก็บหมดเลยใน head ละก็มาปิดที่ </head> ตรงนี้ เห็นไหมครับว่ามันหุ้มอยู่ มัน mask up มันห่ออยู่ mask up ปิดหัวปิดท้ายอย่างนี้ครับอยู่ใน head ละพอจบ head ก็มา body เลย เป็นส่วนที่แสดงผลข้อมูลหลักๆ ที่เป็นโผล่หน้าจอส่วนใหญ่ก็จะอยู่ใน body ละก็ใช้ CSS javascript ช่วยในการปรับแต่งนะครับ เป็นการทำความเข้าใจเรื่อง head คร่าวๆครับ นี่ก็อธิบายถึง HTML lang นะครับ ภาษาต่างๆ อันนี้คือเรื่องของ character นะครับ อันนี้ที่ผมอธิบายไว้แล้วในเรื่องของการใช้ UTF-8 นะครับ character encoding นะครับ ว่าทำไมถึงต้องใช้ UTF-8 นะครับ ก็มีการพัฒนามาเรื่อยๆ อันนี้ก็เป็นโครงสร้างนะครับ โครงสร้างของ HTML สังเกตุว่า head จะอยู่เป็นบรรทัดที่ 3 ละ เราเริ่มเรียนมาถึงบรรทัดที่ 3 ละ คลุมนี่ปิดมาถึงนี่ เห็นไหมครับ คลุม title คือถ้าเกิดเขียนโค้ดบรรทัดนี้ เซฟใน HTML นะครับละกด preview กดให้มันคลิ๊กดูใน browser ก็จะหน้าตาแบบเนี๊ยะ คือมี title อย่างเงี๊ยะ I am a title example อยู่ตรงเนี๊ยะเห็นไหมครับ tag title ซึ่งอยู่ใน head อีกทีนึง คลุมปิดด้วย head อีกทีนึง ตอนนี้ยังไม่เห็นอะไรขาวๆเพราะว่าในระหว่าง tag body เนี่ย ตรงนี้ ยังไม่ได้ใส่อะไรเลยก็เลยยังไม่เห็นอะไร ตรงนี้สำคัญมาก อะไรที่อยู่ใน head อ้า meta name description นะครับกับ meta name keywords ตรงเนี๊ยะสำคัญมาก คือถ้าในทาง search engine (SCO) นะครับ ต้องมีตัวนี้ช่วยนิดนึงนะครับ ก็หลักๆเลย meta name description เนี่ยเอาไว้อธิบายว่าหน้าเพจเนี่ยเกี่ยวกับอะไร ช่วยหน่อย ช่วยอธิบายเพจหน้านี้ว่าเกี่ยวกับอะไร ส่วน meta name keywords เนี่ยช่วยบอกว่าเอ้ย keywords สำคัญๆเนี่ย คือกด search แล้วจะเจอเว็บเนี๊ยะ ใช้ keyword อะไร เว็บรุ่นแรกๆที่เราพัฒนา เราใช้สองตัวนี้เป็นหลักนะครับในการแสดงผลและการจัดอันดับในการ search แต่พอมี google ละพัฒนากันมากขึ้นแล้วตัวนี้ก็จะใช้ในการโชว์ข้อมูลเฉยๆ นะครับ แต่ Google ก็ใช้เป็นส่วนหนึ่งในการ search นะครับ แต่ Google ก็ไม่ได้เชื่อม meta name description กับ keyword ทั้งหมดนะครับ เขาใช้ข้อมูลในหน้าเพจช่วยในการวิเคราะห์ผ่าน algorithm ของเขา ไม่ว่าจะเป็น backlink, Text H1 อะไรถึง H6 นะครับพวกนี้ ภาพเนี๊ยะช่วยหมดนะครับเพราะเขาพัฒนา algorithm ในการพัฒนาหน้าเพจไปไกลแล้วนะครับ แต่ meta name description กับ keyword เราก็ควรต้องใส่อยู่นะครับเพื่อเป็นการบอก Google ในครั้งแรกที่เขาเข้ามาว่าเกี่ยวกับอะไรนะครับใน description นี่ก็เป็นตัวอย่างของการเวลาเรา search ในหน้าเพจ ตรงส่วนบนนี้ก็จะเป็นส่วน title นะครับ มันก็จะเอา title มาโชว์ ส่วนตรงนี้ก็จะเป็น description สังเกตุไหมครับว่า “Latest sports news and live scores…” เนี่ยมันก็จะตรงกับตัวนี้เลย description “Latest sports news and live scores…” เห็นไหมครับ และเขาอาจจะ search คำว่า Eurosport ก็จะเป็น keyword ในนี้เห็นไหมครับ “eurosport,… อย่างเนี๊ยะ มันก็ทำงานสอดคล้องกัน เวลาเรา Add favorite Add อะไรเนี่ย ก็จะดึงส่วน title มาวางตรงนี้ URL มาวางตรงนี้ description ก็มาวางตรงนี้ ในเวลาเราAdd favorite อะไรต่างๆใส่ข้อมูลนะครับ มันก็เลยยังมีประโยชน์อยู่นะครับ meta name description และ keyword นะครับ คราวนี้มาบรรทัดนี้ เอ๊ะ! มันเริ่มมี style เข้ามาละ คราวนี้เริ่มเป็น css การเขียน css แบบนี้เขาเรียกว่าการเขียนแบบ in line style นะครับคือ เขียนแบบใส่เข้าไปใน HTML เลยนะครับ ก็เปิดด้วย tag style text/css แบบนี้นะครับ ละก็เขียน css ซึ่ง css ถ้าคนมีความรู้อยู่แล้วก็ไม่มีปัญหา ถ้าคนยังไม่มีความรู้ก็ซื้อหนังสือมาอ่านครับหรือ search หาข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องของ css กัน วิธีการเขียนนะครับตัวนี้ก็จะเป็น tag HTML นะครับ สังเกตุ tag ง่ายๆนะครับ tag พวกเนี๊ยะมันจะติดกับเครื่องหมายน้อยกว่า ส่วนไอ้ที่อยู่ถัดมาเนี่ยเขาเรียก attribute Attribute คือ ลักษณะของมันนะครับ attribute เป็นส่วนช่วยที่ทำให้เราปรับค่าของ tag ได้มากขึ้น concept มันคืออย่างงี้ เช่น tag image คือภาพแหละ จะโชว์ภาพเราจะมี attribute ที่ชื่อว่าความกว้างความสูง ใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ ถ้าไม่ใส่ภาพไม่เห็นไม่รู้นะ อ้า! คือใส่ attribute ความกว้าง y อย่างเงี๊ยะ กว้างเท่าไหร่ใส่ความสูงเท่าไหร่ tag link มี tag คือ a มี attribute คือ attribute ref link ไปไหน มี target link ไปแล้วทำยังไง link แล้วเปิดหน้าใหม่หรือแทนที่หน้าเก่าอย่างเงี๊ยะเป็นการปรับแต่ง tag หรือว่าความสามารถของ tag เขาเรียกว่า attribute ละผมก็จะค่อยๆสอนไปเรื่อยๆนะครับ ซึ่งใน Webflow ก็มีการใส่ tag และการปรับ attribute ที่มันง่ายอยู่แล้วนะครับ มีการคลิ๊กลาก มีการใส่ค่าอะไรง่ายอยู่แล้ว ไม่ต้องมาเขียนโค้ดนะครับ แต่พอเราใช้ Webflow เราก็ขุด export โค้ดมาแล้ว เราก็สังเกตุว่ามัน tag อะไร attribute อะไร value ที่ใส่เป็นอะไรนะครับ เป็นวิธีการเรียนการภาพไปหาโค้ดซึ่งผมจะใช้เรียนและใช้สอนนะครับ แต่ผมจะไม่ใช้วิธีการสอนแบบโค้ดแล้วไปหาภาพ แล้วไปพรีวิวไปหาภาพแบบนั้นนะครับไม่เอา ผมรู้สึกไม่ work นะครับสำหรับส่วนตัว OK! มันก็จะมี อันนี้ก็จะอธิบายเรื่องของเวลาใช้ style ก็จะมี media คร่าวๆละกันครับ screen ก็ออกหน้าจอ print ก็ออกสิ่งพิมพ์ อย่างเงี๊ยะ style นี้จะใช้ก็เมื่อออกสิ่งพิมพ์เวลากด print มันก็จะใช้ css ชุดนี้ เพราะว่าเวลาที่เราอยู่ในเว็บเวลา print ออกไปเนี่ยเขาอยากจะให้มันไม่เหมือนกัน ในเว็บมันอาจจะมี Background นู้นนี่นั่นเยอะแยะเต็มไปหมดเลย แต่พอปริ๊นท์ออกไปเนี่ยอยากให้มัน plan plan ง่ายๆดูเป็นเอกสารเป็นทางการ เขาก็ตัด css บางตัวออกไปนะครับ เขาก็ปรับโค้ดใหม่แต่ก็ใช้ media ชื่อว่า print แทนนะครับเป็นเทคนิคในการทำงานของ css นะครับ มาดูนี่ก็เป็นรูปร่างหน้าตาการใช้งาน คราวนี้ก็มีการใส่ javascript เข้าไปละ บทเรียนนี้เริ่มเยอะนะครับมี css เข้ามานะครับ มีแบบ in line มี javascript เข้ามาละ รู้ javascript กันหรือยังครับ ถ้ายังไม่รู้ก็เดี๋ยวเรียนรู้พื้นฐานกันอีกทีนึง อ่าเดี๋ยวเรื่อง javascript เนี่ยผมจะสอนในเรื่องของ jquery ด้วยนะครับ เพราะมันสำคัญเลย เดี๋ยวนี้ใครๆก็ใช้ jquery ทั้งนั้นเลยเพราะมันเป็น tools เป็น library นะครับที่ช่วยทำให้เราเขียนโค้ดละก็ทำงานได้ง่ายขึ้น คือ ถ้าเราเขียนเองเนี่ยคำสั่งๆนึงเนี่ย เราอาจจะเขียน 5-6 บรรทัดเเพื่อให้ทำงาน ใช้ jquery ช่วยนะครับ พิมพ์เข้าไปปุ๊บ เขียนบรรทัดเดียวจบเลยอย่างเงี๊ยะง่ายขึ้นเยอะเลยครับ มันก็เลยมีการใช้อย่างแพร่หลายนะครับ ท้าวความนิดนึงนะครับ jquery เนี่ยคนที่เป็นคนพัฒนาก็จะอยู่ในส่วนของ IBM อยู่ในส่วนของ WordPress ด้วย คนที่เป็นผู้พัฒนาก็อยู่ในกลุ่มนี้นี่แหละ อันนี้ก็จะเป็นโค้ดนะครับมีการเขียน style เข้ามานะครับ css เข้ามาละ มีการเขียน javascript เข้ามาละ เห็นไหมครับ ประกาศเป็น function อะไรเลยนี่เลย return, confirm อะไรก็มาเลยนะครับ เริ่มเป็น javascript ละนะครับ เริ่มมีการคลิ๊กการอะไร คราวเนี๊ยะเขาก็บอกว่าการเขียนแบบนี้เขาเรียกว่า in line คือเขียนฝังเข้าไปเลย Stop right there! Inline CSS and Javascript is not too clever! ความหมายของมันก็คือ เอ้ย!อย่าเขียนแบบ in line ซิ มันดูไม่ smart มันดูไม่ฉลาดเลยนะ เขาก็เลยเปลี่ยนวิธีการเขียนแบบ in line มาเป็นอีกแบบนี้ก็คือการ link สังเกตุว่าบรรทัดมันจะใช้น้อยลง บรรทัดมันใช้ยาวมากเลย คราวนี้มันก็จะ link เป็น file ข้างนอกแทนคือ link เป็นแบบ css ข้างนอกแทนอย่างเงี๊ยะ เห็นไหมครับ link ไปหา file ข้างนอกแทน javascript ก็จะ link ไป file ข้างนอกแทน นี่คือวิธีการเขียนแบบ link นะครับเป็นการพัฒนามาเรื่อยๆ แต่ก็ไม่ได้แปลว่าการเขียนแบบ link แล้วเราเขียนแบบ link เป็นแล้วนะครับเราจะไม่เขียนแบบ in line ใน WordPress เวลาที่เขามีการปรับแต่ง theme ปรับแต่งรายละเอียดต่างๆของ tag หรือว่าโค้ดบางโค้ดเนี่ยยังมีการใช้ in line หรือว่ามีการใช้เขียนเข้าไปเพราะว่าจุดประสงค์นึงเลยเนี่ยนะครับ ลำดับความสำคัญของ in line จะสำคัญมากที่สุดมากกว่าการเขียนแบบ link นะครับ คือสมมุติ เรามี body กำหนด Background ว่าเป็นสีแดงถ้าเราเขียนแบบ css link เข้ามาละใส่ body Background ว่าเป็นสีดำ กับเขียน in line css body background ที่เป็นสีเขียว background สีเขียวชนะนะครับ ระดับ level ของ in line เขามองว่ามันใกล้กับ HTML มากกว่า เพราะฉะนั้นมันย่อมมาก่อน วิธีการเขียนของเขานะครับเราก็ทำความเข้าใจคร่าวๆเพื่อว่าเวลาใช้ในการเขียนโค้ดที่ซับซ้อนมากขึ้น โอเคจบ นี่ก็เป็น concept คร่าวๆนะครับของการเขียน tag head นะครับ ซึ่งจะประกอบด้วย มันก็จะห่อหุ้มด้วย meta tag ซึ่งมันเกี่ยวกับเรื่อง character เกี่ยวกับหุ้ม title นะครับที่แสดง title ตรงตัวนี้นะครับ ละก็หุ้มในส่วนของ meta name description และ keyword ซึ่งสอดคล้องกับ SCO และในเรื่องของการนำไป Add favorite ต่างๆนะครับ ปรากฎใน SCO นะครับหรือ Add อะไรต่างๆ หุ้ม Style css ละก็ javascript ด้วย ซึ่ง style แบบ css และ javascript จะเขียนแบบ in line เขียนโค้ดเข้าไปเลย หรือจะเขียนแบบ link เป็น file ข้างนอกออกมาก็ได้นะครับ นี่ก็เป็นการทำงานคร่าวๆของ tag head นะครับ สำหรับคลิปนี้พอเท่านี้ก่อนนะครับ สวัสดีครับHTML เบื้องต้น เรื่อง HTML text
หัวข้อนี้จะพูดในเรื่องของ Html body หลังจากที่เราได้ศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ HTML ได้แก่ Basic of HTML , DOCTYPE and markup style , HTML Validation, HTML head ในส่วนของ More about the HTML head สังเกตว่าจะไม่ค่อยมีการใช้งานสักเท่าไร ขออนุญาตไม่พูดถึงส่วนนี้ ซึ่งในบทความนี้เราจะมาเน้นในส่วนที่เรียกว่า HTML text ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุม Body ของ Website หากพูดถึงส่วน Body คือส่วนที่เราสามารถใช้เพื่อแสดงผลกับคำสั่งต่างๆ ในบริเวณที่เป็นพื้นที่ของ Browser เป็นส่วนใหญ่ เมื่อเข้ามาดูในส่วน Html text จะมีหัวข้อจะอธิบายการใช้งานต่างๆของ text ต่างๆซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Body หรือ Html page หน้านี้นั่นเอง ก่อนอื่นเลยเราจะมาทำความเข้าใจถึงเรื่อง Tag <h> สังเกตว่า Tag <h> จะมีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ เพราะว่า Tag <h> ก็คือ Heading บางครั้งถูกเรียกว่า Hero text ซึ่ง Heading จะแบ่งได้อย่างง่ายคือ ส่วนแรกคือ Heading หลัก หรือ <h1> มีหน้าที่คุมความหมายของ Page ทั้งหมดว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร รองลงมาก็เป็น Heading sub หรือ Heading อันดับที่สองคือ <h2> ลงมา ซึ่ง Heading นี้จะทำหน้าที่แบ่ง section ของเนื้อหาว่ามีเนื้อหาอะไร ต้องการพูดถึงอะไร เช่น Heading Introduction แบ่ง section แบ่งเนื้อหาลงมาเป็นการอธิบายคร่าวๆ หากสังเกตว่าใน Page นั้นมี heading ที่มีขนาดใกล้เคียงกับ <h2> แต่จะมีลักษณะเป็นตัวหนังสือสีจางกว่า หรือขนาดเล็กกว่า เรียกว่า Heading อันดับที่ 3 เราจะ tag ที่ชื่อว่า <h3> เป็น section ย่อยที่ถูกใช้ใน <h2> อีกที เมื่อถูกนำไปใช้งานใน wordpress ผู้ใช้งานก็จะรู้ว่าใช้งานได้ง่ายยิ่งขึ้น จากใหญ่ไปเล็กหรือจากสำคัญที่สุดไปสำคัญน้อยที่สุด ซึ่ง Google Search เองก็ให้ความสำคัญกับ Heading เป็นอันดับต้นๆ มี Link, Back-link, Image และ Heading นั่นเอง Quoting other source หรือ blockqoute คือการอ้างอิงข้อมูลหรือคำพูดจาก website อื่นๆ แต่ก่อนแล้ว blockqoute ทมักจะไม่ค่อยมีบทบาทสักเท่าไรแต่เนื่องจากในปัจจุบัน Social Media เข้ามามีอิทธิพลเป็นอย่างมาก คนเริ่มไม่ค่อยเชื่อโฆษณาหลักจากเว็บหลักๆ หรือข้อมูลจาก website ทั่วไปซึ่งถ้าเป็นประเทศไทยเองก็มี เช่น pantip หรือจาก social media ของคนที่มีชื่อเสียง จึงมีการใช้ blockqoute หรือการใช้การอ้างอิงคำพูดของคนอื่นมากขึ้นไปใน website เพื่อสร้างแรงจูงใจให้คนเข้าไปดูใน website ว่าผลิตภัณฑ์หรือเว็บไซต์ของตนเองมีคนพูดถึงในทางที่ดี เช่น เราจะได้เห็นได้จาก website ในต่างประเทศว่าจะมีการอ้าง blockqoute ซึ่งอาจจะใช้คำว่า Testimonial รับรองมาจากคนที่มีชื่อเสียงจากอาชีพอื่นหรือที่เกี่ยวข้อง จะช่วยบอกว่า website ของคุณดี มีการบริการที่ดี รู้สึกดีกับการใช้งาน เป็นต้น เพื่อตอบรับกับทิศทางของผู้บริโภคที่เริ่มเปลี่ยนไปในทิศทางมักจะเชื่อจากคนที่สนิท คนที่รู้จัก หรือคนที่มีชื่อเสียง ก่อนการตัดสินใจในเรื่องของสินค้าและบริการ ซึ่งการ blockqoute หรือการอ้างอิงคำพูดก็ถูกหยิบมาใช้ในเว็บไซต์มากขึ้นเพื่อสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้ใช้ ซึ่งเวลาเราหยิบมาใช้จะใช้เป็นพวก Double qoute ซึ่งใน WordPress ก็มักจะใช้ blockqoute หรือการอ้างอิงคำพูด หรือ Testimonial มาใช้มากขึ้น Inline element คือการนำ text มาซ้อนกันไว้ ส่วนมากแล้วจะมีใช้ดังต่อไปนี้- Emphasis <em> คือเรื่องของกานเน้นตัวอักษร
- Itaric <i> คือการทำให้ตัวหนังเอียงจะถูกใช้งานเยอะ
- Strong <strong> คือการทำให้ตัวหนังสือเข้มขึ้น
- Bold <b> ลักษณะจะคล้ายกัน Strong คือทำให้ตัวหนาขึ้นหรือเข้มขึ้น
- Tag <p> จำนวน text ที่มีจำนวนข้อมูลจำนวนหนึ่งสามารถตั้งค่าให้เป็น Paragraph ได้
- Small print <small> เป็นเรื่องของการทำให้เล็กลง tag นี้สามารถซ้อนอยู่ใน tag อื่นๆได้
- Telling the time <time datetime = “”> ใช้ระบุเวลาต่างๆ เพราะว่า Google มีฟังก์ชั่นที่สามารถปรับ Search option เพื่อหาข้อมูลที่อยู่ในช่วงเวลานั้นๆได้ เช่น ต้องการหา ข้อมูลเกี่ยวกับ show result wordpress ภายใน 1 อาทิตย์, Show result ย้อนหลัง 1 เดือน หรือ Show result ข้อมูลข่าวล่าสุด เป็นต้น จึงใช้ datetime เพื่อเป็นการแบ่ง section ในการแสดงผล