ปัจจัยการทำเอสอีโอ SEO Factor

ปัจจัยการทำเอสอีโอ SEO Factor

ปัจจัยการทำเอสอีโอ SEO Factor มีมากกว่า 200 ข้อ ทำให้การทำ SEO นั้นก็เหมือนกับการงมเข็มในมหาสมุทรนั่นแหละครับ เพราะ Google เค้าไม่ค่อยจะบอกอะไรเราสักเท่าไหร่เลยว่าปัจจัยไหนบ้าง ที่จะช่วยให้เราติดหน้าแรกบนเว็บไซต์เค้าได้ ซึ่งหลังจากนักพัฒนาเว็บไซต์ทั้งหลายดำดิ่ง งมเข็มเหล่านี้กันมานาน เค้าก็ได้สังเกตเห็นถึงปัจจัยกว่า 200 อย่างที่ Google ใช้ในการพิจารณาว่าใครจะได้อยู่อันดับไหนบนหน้าค้นหาของเค้า ซึ่งบอกเลยครับว่าถ้าทำได้ครบทั้ง 200 ข้อนี้ล่ะก็ อันดับหนึ่งของผลการค้นหาไม่มีทางหลุดมือไปไหนแน่นอนครับ

  1. อายุของ Domain ต้องจดมานาน
  2. มี Keyword อยู่ในชื่อ Domain ด้วย
  3. Keyword ต้องอยู่คำแรกของชื่อ Domain เลยถึงจะดีที่สุด
  4. วันหมดอายุของ Domain ต้องเหลือเยอะ ๆ
  5. มี Keyword อยู่ในชื่อ Subdomain ด้วย
  6. ประวัติของ Domain ห้ามเปลี่ยนชื่อผู้ถือครองบ่อย ๆ
  7. เล่น Keyword เดียวกันกับชื่อ Domain
  8. เปิดเผยข้อมูลในส่วนของ WhoIs
  9. ชื่อผู้ถือครอง Domain ใน WhoIs ต้องไม่มีประวัติการกระทำผิดต่อ Google
  10. จดทะเบียน Domain ตามประเทศนั้น ๆ เช่น ประเทศไทย .th
  11. มี Keyword ใน Title Tag
  12. ใช้ Keyword เป็นคำแรกใน Title Tag
  13. มี Keyword ใน Description Tag
  14. มี Keyword อยู่ใน H1 Tag
  15. Keyword ต้องเยอะกว่าคำอื่น ๆ ในหน้านั้น
  16. ความยาวของบทความ 1,000 คำขึ้นไป กำลังดี
  17. จำนวน Keyword ในหน้านั้นไม่ควรมากเกินไปจนดูเหมือน Spam
  18. มีคำอธิบาย Keyword เพิ่มเติมในบทความ เพื่อไม่ให้ Google สับสน เพราะบางคำมันแปลได้หลายความหมาย
  19. มีคำอธิบาย Keyword เพิ่มเติมใน Title และ Description Tags
  20. ความเร็วของเว็บไซต์ก็มีผล
  21. ถ้ามีบทความซ้ำกันเยอะ จะทำให้อันดับตกได้
  22. ใช้ Rel=Canonical เพื่อป้องกัน Google นับหน้าซ้ำ
  23. โหลดเว็บไซต์จาก Chrome ได้อย่างรวดเร็ว
  24. ใส่ข้อมูลให้รูปด้วย เช่น ชื่อไฟล์ Alt Text, Title, Description และ Caption
  25. คอนเทนต์สดใหม่ไม่ซ้ำใคร
  26. อัพเดทคอนเทนต์อยู่ตลอด
  27. อัพเดทหน้าเพจด้วย
  28. มี Keyword อยู่ใน 100 คำแรกของคอนเทนต์
  29. มี Keyword อยู่ใน H2, H3 Tag
  30. การเรียงคำ Keyword ต้องให้ตรงกับที่คนพิมพ์หา ไม่จำเป็นต้องถูกหลักไวยากรณ์ก็ได้
  31. มีลิงก์ออกไปที่เว็บไซต์อื่น
  32. ลิงก์ที่ออกไปกับเว็บไซต์นั้นต้องเกี่ยวข้องเป็นโทนเดียวกัน
  33. สะกดถูกทุกคำ ตรงตามหลักไวยากรณ์
  34. เขียนคอนเทนต์เอง ไม่ได้ลอกใคร
  35. คอนเทนต์มีประโยชน์ คนชอบแชร์
  36. มีลิงก์ออกไปมากเกินไปก็ไม่ดี
  37. ต้องมีรูปภาพ วิดีโอ หรือลูกเล่นต่าง ๆ ด้วย
  38. มีลิงก์ภายในวิ่งเข้าหาหน้าที่สำคัญ
  39. ถ้าอยากให้หน้าไหนดัง ก็ทำลิงก์ภายในมายังหน้านั้นด้วย
  40. อย่าให้มีลิงก์เสียอยู่บนเว็บไซต์
  41. คอนเทนต์อ่านง่าย สบายตา
  42. ไม่ใส่ลิงก์ Affiliate มากไป
  43. อย่าให้มี HTML Error
  44. Host ต้องดีด้วย
  45. หน้า PR ต้องสูง
  46. URL ต้องไม่ยาวเกินไป
  47. URL ต้องคล้าย ๆ กับหน้าแรก
  48. ใช้คนเขียนเนื้อหา ไม่ใช้โปรแกรม
  49. จัดหมวดหมู่ให้เว็บไซต์ช่วยได้
  50. ใช้ Tag ด้วย
  51. มี Keyword อยู่ใน URL
  52. URL ต้องเรียงกัน
  53. มีแหล่งอ้างอิงเนื้อหา
  54. บทความเป็นข้อ ๆ ดีกว่าบทความยาว
  55. ลำดับความสำคัญใน Sitemap
  56. ถ้ามีลิงก์ออกไปข้างนอกมากเกินไปจะไม่ดี
  57. มี Keyword ที่ติดอันดับดี ๆ เยอะ ในหน้านั้น
  58. อายุของหน้านั้น ยิ่งอายุนานแล้วทำการอัพเดทยิ่งดี
  59. การจัดวางรูปแบบสบายตากับผู้ใช้งาน
  60. ไม่ใช้ Parked Domain
  61. คอนเทนต์ต้องมีประโยชน์
  62. คอนเทนต์ให้คุณค่าและข้อมูลเชิงลึกที่ไม่เหมือนใคร
  63. มี Contact Us ให้คนติดต่อได้
  64. มี Domain Trust / TrustRank ที่สูง
  65. มีโครงสร้างเว็บไซต์ที่ดี
  66. อัพเดทเว็บไซต์อยู่เสมอ
  67. มีหน้าเว็บหลาย ๆ หน้า
  68. มี Sitemap ช่วยให้ง่ายต่อการค้นหา
  69. มี Site Uptime ด้วย
  70. ที่ตั้งของเซิฟเวอร์ ถ้า Keyword ภาษาไทย เซิฟเวอร์ตั้งที่ประเทศไทยจะดีกว่า
  71. มีการรับรองความปลอดภัย SSL
  72. มีหน้าข้อตกลงการใช้งาน และนโยบายความเป็นส่วนตัว
  73. ข้อมูล Meta ในเว็บไซต์ไม่ควรซ้ำกัน
  74. มีเมนูแบบ Breadcrumb
  75. รองรับการใช้งานบนโทรศัพท์มือถือ
  76. มีวิดีโอจากยูทูปปะปนอยู่บนเว็บไซต์
  77. ใช้งานง่ายไม่ยุ่งยาก
  78. ติดตั้ง Google Analytics และ Google Webmaster Tools
  79. มีคนรีวิวดี ๆ ให้บนเว็บไซต์ที่มีชื่อเสียง
  80. มีลิงก์มาจากเว็บไซต์ที่เปิดมานาน
  81. มีคนอ้างอิงถึงเยอะยิ่งดี
  82. มีลิงก์มาจากเว็บที่ IP ต่างกัน
  83. จำนวนลิงก์ยิ่งเยอะยิ่งดี
  84. ใส่ Alt Text ให้รูปภาพด้วย
  85. มีลิงก์จาก Domain ที่น่าเชื่อถือเหล่านี้ .edu, .gov, .go.th, .ac.th
  86. สร้างลิงก์กลับจากเว็บที่มีคุณภาพ
  87. มีการอ้างอิงจากเจ้าของ Domain ที่มีคุณภาพ
  88. มีลิงก์จากคู่แข่ง
  89. มีการแชร์บนโลกโซเชียล
  90. ห้ามมีลิงก์มาจากเว็บไซต์ที่แย่ ๆ
  91. ลิงก์ที่มาจาก Guest Posts ไม่ค่อยช่วยอะไรเท่าไหร่
  92. มีลิงก์ไปยังหน้าหลักของ Domains อื่น ๆ
  93. มีลิงก์ไว้แต่ไม่มีคนคลิกก็ยังดี
  94. มีลิงก์จากหลาย ๆ เว็บไซต์
  95. ลิงก์ที่ขึ้นว่า Sponsored Link ทำให้คะแนนลด
  96. ฝังลิงก์ไว้ในคำของบทความ
  97. ไม่ควรมีลิงก์กลับที่มาแบบหลอกที่มา
  98. ข้อความที่อยู่ใน Backlink น่าเชื่อถือ
  99. ข้อความใน Internal Link ไม่น่าเชื่อถือ
  100. ข้อความใน Title ของลิงก์ ต้องดี
  101. อ้างอิงจาก Domain .th
  102. มีลิงก์อยู่ต้นคอนเทนต์ ไม่ใช่ท้าย
  103. มีลิงก์อยู่ในหน้าคอนเทนต์ ดีกว่าอยู่ด้านข้าง
  104. มีลิงก์จากเว็บที่เกี่ยวข้องกันดีกว่า
  105. มีลิงก์จากหน้าที่เกี่ยวข้องกันดีกว่า
  106. ลิงก์ที่กลับมาต้องเป็นคำชมไม่ใช่คำด่า
  107. มี Keyword ใน Title
  108. ความเร็วในการไปถึงลิงก์นั้น ๆ ก็สำคัญ
  109. ยิ่งลิงก์อืดยิ่งลดระดับ
  110. มีลิงก์จาก Hub ที่น่าเชื่อถือ
  111. มีลิงก์จากเว็บที่ได้รับรองจาก Google
  112. มีลิงก์อยู่ใน Wikipedia
  113. ข้อความรอบ ๆ ลิงก์ทำให้ Google รู้ว่าเราคือเว็บไซต์อะไร
  114. อายุของ Backlink ยิ่งเยอะยิ่งดี
  115. มีลิงก์ที่มาจากเว็บไซต์จริง ๆ
  116. มีลิงก์ธรรมชาติจากโปรไฟล์
  117. แลกลิงก์กันได้ แต่อย่าเยอะเกิน
  118. ผู้ใช้งานสร้างคอนเทนต์ลิงก์ขึ้นมา
  119. มีลิงก์จาก 301
  120. รองรับ Microformats
  121. มีลิงก์จาก DMOZ
  122. มีลิงก์จากเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ
  123. มีลิงก์มาจากหน้าที่มีลิงก์น้อย
  124. มีลิงก์จาก Forum
  125. จำนวนคำของบทความที่ลิงก์นั้นอยู่มีผล ยิ่งคำเยอะ ๆ ยิ่งน่าเชื่อถือ
  126. มีลิงก์จากคอนเทนต์คุณภาพ
  127. ลิงก์ที่เหมือนกันในทุก ๆ หน้าจะถูกนับเพียงแค่หนึ่งครั้ง
  128. มีคนคลิกลิงก์จาก Keyword แบบ Organic เยอะ
  129. มีคนคลิกลิงก์จาก Keyword  แบบ Organic หลายคำ
  130. Bounce Rate ต่ำ
  131. Direct Traffic สูง
  132. มีคนเข้าซ้ำเยอะ
  133. ไม่ถูกผู้ใช้งาน Block
  134. ถูก Bookmark ไว้บน Chrome
  135. เข้าเว็บด้วย Google Chrome
  136. มีคนคอมเมนท์เยอะ
  137. มีคนเข้าเว็บนาน ๆ
  138. มีหน้าที่สร้างใหม่
  139. แสดงความหลากหลายถ้า Keyword กำกวม
  140. มีประวัติการเข้าชมเยอะ
  141. มีประวัติการค้นหาเยอะ
  142. คนค้นหาในประเทศไหน เว็บไซต์จากประเทศนั้นจะได้อันดับมาก
  143. ถ้าเปิด Safe Search บางเว็บไซต์ที่เนื้อหารุนแรงจะไม่แสดงให้เห็น
  144. มี Google+ Circles
  145. ไม่มีคำร้องเรียน DMCA
  146. ต่อให้เว็บไซต์หนึ่งควรติดทุก Keyword แต่ Google ก็จะกระจายให้เว็บไซต์อื่นด้วย
  147. เว็บไซต์ซื้อ-ขายจะได้รับอันดับที่สูงกว่าคอนเทนต์ทั่วไป
  148. ปักหมุดสถานที่บน Google+
  149. จะมีช่อง News สำหรับบาง Keyword
  150. Brand ยิ่งดังยิ่งดี
  151. สินค้าซื้อ-ขายจะได้อันดับดีกว่าปกติ
  152. รูปภาพจะมาอันดับแรก
  153. Google มีเกมให้เล่นอยู่ในบาง Keyword ด้วย
  154. Domain กับ Keyword ของแบรนด์ต้องเหมือนกัน
  155. จำนวน Tweet ของเว็บไซต์ช่วยได้
  156. คนที่ Tweet ต้องมี Follower เยอะ
  157. คนไลค์ Facebook เยอะ
  158. คนแชร์ Facebook เยอะ
  159. เนื้อหาที่แชร์หรือไลค์เข้าถึงคนหมู่มากได้
  160. มีการปักหมุด Pinterest เยอะ
  161. มีคนโหวตบนหน้า Social Sharing เยอะ
  162. มีคน +1 บน Google+ เยอะ
  163. คนที่ +1 บน Google+ มีคนติดตามเยอะยิ่งดี
  164. ข้อความที่แชร์ลงไปดีหรือไม่ดีมีผลด้วย
  165. ถ้าข้อมูล คอนเทนต์ ข้อความ ทุกอย่างดี เกี่ยวข้องกัน อันดับจะยิ่งดี
  166. เว็บไซต์มีส่วนเกี่ยวข้องกับโซเชียลเท่าไหร่ยิ่งดี
  167. มีชื่อแบรนด์เป็นของตัวเอง
  168. มีคนค้นหาชื่อแบรนด์
  169. มี Facebook Page
  170. มี Twitter
  171. มี LinkedIn
  172. พนักงานบริษัทมีข้อมูลบน LinkedIn
  173. มีการโต้ตอบในแต่ละช่องทาง
  174. มีคนพูดถึงชื่อแบรนด์
  175. ปักหมุดบน Google Business
  176. มีคนติดตาม RSS Subscriber
  177. ใส่ที่อยู่ธุรกิจลงบน Google+
  178. จ่ายภาษีครบถ้วน
  179. คุณภาพเว็บไซต์ต้องดี
  180. มีลิงก์จากเว็บไซต์แย่ ๆ จะทำให้เว็บเราแย่ตามไปด้วย
  181. ไม่มีการ Redirect
  182. ไม่มี Popup หรือ Ad ให้รำคาญตา
  183. ไม่ทำ SEO เยอะเกินไปในเว็บไซต์เดียว
  184. ไม่ทำ SEO เยอะเกินไปในหน้าเดียว
  185. ไม่มี Ad กวนใจ
  186. ไม่พยายามซ่อนลิงก์ Affiliate
  187. ไม่ทำเว็บเพื่อ Affiliate
  188. เขียนบทความเอง ไม่ใช้คอมพิวเตอร์
  189. ไม่โกงระบบจัดอันดับ
  190. IP Address สะอาดปราศจากมลทิน
  191. ไม่ Spam ใน Meta Tag
  192. มีลิงก์เข้ามามากเกินไปแบบผิดสังเกต
  193. ไม่ถูก Penguin ของ Google คาดโทษ
  194. ไม่มีลิงก์จากหน้า Profile ที่ไม่มีคุณภาพ
  195. มีลิงก์อยู่บนเว็บไซต์ที่ไม่เกี่ยวข้องเยอะเกินไปก็ไม่ได้
  196. ไม่ถูกเตือนเรื่องมีลิงก์ผิดธรรมชาติ
  197. ลิงก์จาก IP Class C เดียวกันก็ห้าม
  198. ห้ามมีคำที่สุ่มเสี่ยงอยู่บนเว็บไซต์เยอะ ๆ
  199. ไม่ถูกแบนโดยทีมงาน Google
  200. ไม่ซื้อขายลิงก์

เยอะมากจริง ๆ เลยนะครับสำหรับปัจจัย SEO แทบทุกการกระทำบนเว็บไซต์ของเราสามารถส่งผลต่อ SEO ได้หมดเลย แต่ทีนี้ทุกคนก็คงหายสงสัยกันแล้วนะครับว่าต้องทำยังไงถึงจะติด SEO กับเค้าได้บ้าง เพราะถ้าทำตาม Checklist นี้และหมั่นเพิ่มความรู้การทำ SEO อยู่เสมอครับ

บทความเขียนโดย Freelance 
โปรดเช็คความรู้จากลิงค์เหล่านี้เพิ่มเติม

อ่านบทความแชร์เส้นทางอาชีพด้าน Digital Marketing Freelancer ในสาขาอื่นๆได้ด้านล่างนี้ครับ

แนะนำอ่านเส้นทางอาชีพเกี่ยวกับด้าน SEO & Digital Marketing

แชร์ประสบการณ์การสร้างอาชีพเกี่ยวกับ SEO & Digital Marketing แบบนักรบ เพื่อพิสูจน์ให้เห็นจริง ว่าความรู้ที่สอนนี้ ใช้ได้ผลจริงกับนักรบ แต่ผู้เรียนควรนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับธุรกิจตัวเองครับ เช่น รับทำเว็บไซต์ WordPress, วิทยากรสร้างคอร์สออนไลน์, ขายของออนไลน์ด้วยเว็บไซต์, รับทำ SEO แบบฟรีแลนซ์ และ  SEO Agency